วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันวิสาขบูชา 








         วันวิสาขบูชา (บาลี: วิสาขปูชา; อังกฤษ: Vesak) เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ และวันสำคัญในระดับนานาชาติตามมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธโคดม โดยทั้งสามเหตุการณ์ได้เกิด ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่า เป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก "วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย และมักตรงกับเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนตามปฏิทินจันทรคติของไทย โดยในประเทศไทย ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 แต่ประเทศอื่นที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท และไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม ส่วนในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกายที่นับถือว่า เหตุการณ์ทั้ง 3 นั้นเกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ซึ่งไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท
วันวิสาขบูชานั้นได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน
วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย ประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศศรีลังกา สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก[4] (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากล" (International Day) ตามข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 54/112 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือ ความจริงของโลก แก่ชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 นี้ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน




การละเล่นหมากเก็บ

          








        การละเล่นยอดฮิตสำหรับเด็กผู้หญิงนั่นเอง ปกติจะใช้ผู้เล่น 2-4 คน และใช้ก้อนกรวดกลม ๆ 5 ก้อนเป็นอุปกรณ์

           กติกาก็คือ ต้องมีการเสี่ยงทายว่าใครจะได้เล่นก่อน โดยใช้วิธี "ขึ้นร้าน" คือแบมือถือหมากทั้ง 5 เม็ดไว้ แล้วโยนหมาก ก่อนจะหงายมือรับ แล้วพลิกมือกลับรับหมากอีกที ใครมีหมากอยู่บนมือมากที่สุด คนนั้นจะได้เป็นผู้เล่นก่อน

           จากนั้นจะแบ่งการเล่นเป็น 5 หมาก โดยหมากที่ 1 ทอดหมากให้อยู่ห่าง ๆ กัน แล้วเลือกลูกนำไว้ 1 เม็ด ก่อนจะไล่เก็บหมากที่เหลือ โดยการโยนเม็ดนำขึ้น พร้อมเก็บหมากครั้งละเม็ด และต้องรับลูกที่โยนขึ้นให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ถือว่า "ตาย" หรือถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นก็ถือว่า "ตาย" เช่นกัน

           ในหมากที่ 2 ก็ใช้วิธีการเดียวกัน แต่เก็บทีละ 2 เม็ด เช่นเดียวกับหมากที่ 3 ใช้เก็บทีละ 3 เม็ด ส่วนหมากที่ 4 จะไม่ทอดหมาก แต่จะใช้ "โปะ" คือถือหมากทั้งหมดไว้ในมือ โยนลูกนำขึ้นแล้วโปะเม็ดที่เหลือลงพื้น แล้วรวมทั้งหมดที่ถือไว้ "ขึ้นร้าน" ได้กี่เม็ดถือเป็นแต้มของผู้เล่นคนนั้น ถ้าไม่ได้ถือว่า "ตาย" แล้วให้คนอื่นเล่นต่อไป โดย "ตาย" หมากไหนก็เริ่มที่หมากนั้น ปกติการเล่นหมากเก็บจะกำหนดไว้ที่ 50-100 แต้ม ดังนั้นเมื่อแต้มใกล้ครบ เวลาขึ้นร้านต้องระวังไม่ให้แต้มเกิน ถ้าเกินต้องเริ่มต้นใหม่

           อย่างไรก็ตาม ปกติแล้ว "หมากเก็บ" มีวิธีเล่นหลายอย่าง แต่ละอย่างก็จะมีชื่อเรียกต่างกันไป เช่น หมากพวง , หมากจุ๊บ ,อีกาเข้ารัง



       
ประเพณีลอยกระทง







       วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตกแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย
สำหรับประเทศไทยปัจจุบัน มีการล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นมากอย่างยิ่งในวันลอยกระทง ผลสำรวจของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 พบว่า เทศกาลลอยกระทงชักนำให้วัยรุ่นไทยร่วมประเวณีกันมากที่สุด มีความเป็นไปได้ที่เยาวชนไทยร้อยละ 38 จะถูกล่วงละเมิดทางเพศในวันลอยกระทง ทั้งนี้ เพราะเทศกาลลอยกระทงจัดในยามค่ำคืน หนุ่มสาวพบเจอกันได้ง่ายและมักเสพสุรายาเมากัน นอกจากนี้ มหาเถรสมาคมยังเปิดเผยด้วยว่า ในภาคอีสานมักจัดงานวัดซึ่งประกอบด้วยการเสพของมึนเมาและจัดแสดงอนาจารในคืนลอยกระทง




ประเพณีสงกรานต์








            สงกรานต์ (อังกฤษ: Water Festival ถอดเป็นอักษรละติน: Songkran), เป็นประเพณีของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เดิมวันที่จัดเทศกาลกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน วันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นจุดเริ่มต้นของปีปฏิทินในประเทศไทยจนถึง พ.ศ. 2431 หลังจากนั้นวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483
สงกรานต์สืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็น ภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี แต่ในปัจจุบันการเฉลิมฉลองในประเพณีสงกรานต์นั้นได้ละทิ้งความงดงามของประเพณีในสมัยโบราณไปเกือบหมดสิ้น คงไว้เพียงแต่ภาพลักษณ์แห่งความสนุกสนาน
พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ สงครามน้ำ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ


วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู
  คุณธรรม ความเป็นครูในบทความนี้เป็นคุณลักษณะเฉพาะตัวสำหรับคนที่ประกอบวิชาชีพครู ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบภายนอกตัวครูอื่นอีก ไม่ว่าระบบบริหารสถาบันวิชาชีพ จรรยาบรรณ หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
           คำ ว่า "ครู" นั้น แม้โดยรูปแบบจะมีการแบ่งเป็นกลุ่ม ระดับตามลักษณะงาน และระดับการศึกษาที่ตนมีบทบาทหน้าที่ก็ตาม แต่โดยเนื้อแท้ ครูต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติหรือองค์ประกอบ ๓ ประกอบคือ ๑) มีความรู้ดี ๒) มีความประพฤติดี และ ๓) มีคุณธรรม


           หากขาดคุณสมบัติทั้งสามนี้ ก็ยากที่จะคงบทบาทแห่งความเป็นครูอยู่ได้
           บทบาท แห่งความเป็นครูนั้น แม้จะกำหนดไว้แตกต่างกันตามลักษณะประเภทองค์กรที่ครูสังกัด แต่ก็อยู่ในกรอบใหญ่ ๓ กรอบตามคุณสมบัติของครูนั่นเอง คือบทบาทในกรอบความรู้ กรอบความประพฤติ และกรอบคุณธรรม
           แม้ จะมีกรอบททั้งสามนี้แล้วก็ตาม แต่เนื่องจากภาวการณ์ปัจจุบันเป็นภาวการณ์วิกฤต ตามกระแสโลกาภิวัตน์ การออกนอกกรอบอาจเกิดขึ้นได้ อันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความวุ่นวายในสังคม เพราะสังคมนั้น ประกอบด้วยบุคคลจำนวนมาก ซึ่งแต่ละคนย่อมได้รับการศึกษาอบรมไปจากครู เมื่อครู ซึ่งเป็นต้นแบบออกนอกกรอบ ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าผลผลิตก็จะออกนอกกรอบไปด้วย
           ดัง นั้น จึงจำเป็นที่ครูต้องมีปรัชญาและคุณธรรมที่เสริมเพิ่มความเป็นครู ในด้านปรัชญานั้นควรที่จะยึดหรือยืนอยู่ตรงจุดที่มีดุลยภาพ คือตรงจุดกึ่งกลางแห่งกระแสโลกาภิวัตน์ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้เกิดความรวดเร็ว และชลอความเร็วเกินขนาดจนอาจเป็นอันตรายได้
           ใน ด้านคุณธรรม โดยสามัญสำนึก ทุกคนย่อมตระหนักได้เองว่า อะไรดีไม่ดี ควรไม่ควร ถ้าคนนั้นผ่านการกล่อมเกลาทางสังคมมาระดับหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นครูได้ผ่านการกล่อมเกลา และกรองมาแล้วหลายระดับและหลายครั้ง ย่อมทราบโดยสำนึกแน่นอนว่าอะไรดีควรทำตามหน้าที่ นั่นหมายความว่า คุณธรรมเป็นสิ่งที่มีประจำใจของใคร ๆ อยู่แล้ว
           อย่าง ไรก็ตาม ในแง่การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ต้องคำนึงขั้นตอนการพัฒนาตามหลัก ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิปละปัญญา เพราะเมื่อดำเนินการตามหลักนี้แล้ว จะทำให้เกิดคุณธรรมอื่น ๆ ติดตามมาโดยอัตโนมัติ ในฐานะที่หลักไตรสิกขานั้นเป็นหลักเพื่อการพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อมุ่งไปสู่พุทธิปัญญาที่จะทำให้มีอิสระปลอดโปร่ง และปลอดภัยอย่างแท้จริง อันเป็นที่ปรารถนาของคนทุกระดับ
           ที่ กล่าวมาทั้งหมดนี้ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่จะขวนขวายแสวงหาเพื่อการพัฒนาด้วยตน เอง โดยไม่สัมพันธ์กับระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบบริหารจัดการบุคลากรครูอันเป็นโครงสร้างและสิ่งแวด ล้อมสำคัญที่จะให้เกิดการปฏิบัติดังกล่าว จึงน่าจะมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการดังกล่าวเกี่ยวกับบุคลากร ครู ข้อเสนอแนะบางประการ ดังนี้
           ๑. ครูในฐานะปัจเจกบุคคลต้องมีใจพร้อมที่จะทำหน้าที่ครู เป้าหมายคือยกระดับวิญญาณมนุษย์ ไม่ใช่ยกระดับความรู้เท่านั้น
           ๒. รัฐต้องปฏิรูปครูทั้งระบบทุกระดับ ตั้งแต่ครูก่อนประถมจนถึงรถดับอุดมศึกษา (ผู้ทำหน้าที่สอนทุกระดับถือว่าเป็นครู) โดยปฏิรูปทั้งระบบการผลิต การใช้และการพัฒนา
           ๓. ถ้าถือว่าวัยต้น ๆ ของคนเป็นวัยที่มีความสำคัญ เพราะเป็นวัยที่วางรากฐานการพัฒนาที่สำคัญที่สุด เป็นวัยที่ชี้ทิศทางแห่งการพัฒนาวัยต่อ ๆ ไปแล้ว ครูในระดับต้น ๆ คือก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษาก็ควรจะได้รับความสำคัญเป็นพิเศษด้วย โดยเฉพาะแง่ความก้าวหน้าทั้งทางวิชาการและวิชาชีพครู
           กฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่ล้าสมัย น่าจะได้รับการปรับปรุงเพื่อให้ครูในระดับต้น ๆ ได้รับความสำคัญเป็นพิเศษดังกล่าว ทางก้าวหน้าของครูในระดับต้น ๆ น่าจะมีช่องทางเหมือนกันกับครูในระดับสูง ๆ ตำแหน่งทางวิชาการไม่ว่าจะโดยชื่อ หรือสิทธิประโยชน์อันมากับตำแหน่งนั้น น่าจะมีเหมือนกันและเท่ากันสำหรับครูทุกระดับ ศาสตราจารย์มีได้แม้ในครูอนุบาล ถ้าคุณภาพทางวิชาการถึงระดับกำหนด
           ๔. ในขณะที่ยุคนี้ เทคโนโลยีกำลังมาแรง ครูและผู้จัดระบบการบริหารจัดการครู ต้องตั้งสติให้ดีว่า คนจะต้องใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเท่านั้น อย่าหลงหรือเผลอให้เทคโนโลยีมาใช้คน โดยไม่รู้ตัว เพราะมิฉะนั้น จะถึงจุดอันตราย ที่ความเป็นมนุษย์จะสูญสิ้น จะมีแต่ความเป็นวัตถุเมื่อถึงขั้นนั้น คนจะพูดกันด้วยเหตุผลไม่รู้เรื่อง แต่จะพูดกันด้วยวัตถุ หรือเงิน หรือผลประโยชน์อื่น ๆ
           ๕. สภาพแวดล้อมทางสื่อสารมวลชนมีบทบาทสำคัญเสมือนหนึ่งเป็นครูโดยอัตโนมัติ เพราะสามารถสื่อความหมายสิ่งต่าง ๆ ทั้งดีและไม่ดีที่มีอิทธิพลต่อคนไม่ยิ่งหย่อนหรือมากไปกว่าครูด้วยซ้ำไป ดังนั้น วิชาการทางสื่อสารมวลชนไม่ว่าจะเป็นนิเทศศาสตร์หรือชื่ออื่นใด ควรจะมีวิชาคุณธรรมความเป็นครูให้ศึกษาด้วย และให้ผู้ประกอบอาชีพด้านนี้ มีความรู้สึกว่าตัวเองเป็นหรือเสมือนเป็นครูคนหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อความรู้สึกรับผิดชอบต่อผลของการเสนอข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ จะเพิ่มความเข้า