วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู
  คุณธรรม ความเป็นครูในบทความนี้เป็นคุณลักษณะเฉพาะตัวสำหรับคนที่ประกอบวิชาชีพครู ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบภายนอกตัวครูอื่นอีก ไม่ว่าระบบบริหารสถาบันวิชาชีพ จรรยาบรรณ หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
           คำ ว่า "ครู" นั้น แม้โดยรูปแบบจะมีการแบ่งเป็นกลุ่ม ระดับตามลักษณะงาน และระดับการศึกษาที่ตนมีบทบาทหน้าที่ก็ตาม แต่โดยเนื้อแท้ ครูต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติหรือองค์ประกอบ ๓ ประกอบคือ ๑) มีความรู้ดี ๒) มีความประพฤติดี และ ๓) มีคุณธรรม


           หากขาดคุณสมบัติทั้งสามนี้ ก็ยากที่จะคงบทบาทแห่งความเป็นครูอยู่ได้
           บทบาท แห่งความเป็นครูนั้น แม้จะกำหนดไว้แตกต่างกันตามลักษณะประเภทองค์กรที่ครูสังกัด แต่ก็อยู่ในกรอบใหญ่ ๓ กรอบตามคุณสมบัติของครูนั่นเอง คือบทบาทในกรอบความรู้ กรอบความประพฤติ และกรอบคุณธรรม
           แม้ จะมีกรอบททั้งสามนี้แล้วก็ตาม แต่เนื่องจากภาวการณ์ปัจจุบันเป็นภาวการณ์วิกฤต ตามกระแสโลกาภิวัตน์ การออกนอกกรอบอาจเกิดขึ้นได้ อันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความวุ่นวายในสังคม เพราะสังคมนั้น ประกอบด้วยบุคคลจำนวนมาก ซึ่งแต่ละคนย่อมได้รับการศึกษาอบรมไปจากครู เมื่อครู ซึ่งเป็นต้นแบบออกนอกกรอบ ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าผลผลิตก็จะออกนอกกรอบไปด้วย
           ดัง นั้น จึงจำเป็นที่ครูต้องมีปรัชญาและคุณธรรมที่เสริมเพิ่มความเป็นครู ในด้านปรัชญานั้นควรที่จะยึดหรือยืนอยู่ตรงจุดที่มีดุลยภาพ คือตรงจุดกึ่งกลางแห่งกระแสโลกาภิวัตน์ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้เกิดความรวดเร็ว และชลอความเร็วเกินขนาดจนอาจเป็นอันตรายได้
           ใน ด้านคุณธรรม โดยสามัญสำนึก ทุกคนย่อมตระหนักได้เองว่า อะไรดีไม่ดี ควรไม่ควร ถ้าคนนั้นผ่านการกล่อมเกลาทางสังคมมาระดับหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นครูได้ผ่านการกล่อมเกลา และกรองมาแล้วหลายระดับและหลายครั้ง ย่อมทราบโดยสำนึกแน่นอนว่าอะไรดีควรทำตามหน้าที่ นั่นหมายความว่า คุณธรรมเป็นสิ่งที่มีประจำใจของใคร ๆ อยู่แล้ว
           อย่าง ไรก็ตาม ในแง่การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ต้องคำนึงขั้นตอนการพัฒนาตามหลัก ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิปละปัญญา เพราะเมื่อดำเนินการตามหลักนี้แล้ว จะทำให้เกิดคุณธรรมอื่น ๆ ติดตามมาโดยอัตโนมัติ ในฐานะที่หลักไตรสิกขานั้นเป็นหลักเพื่อการพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อมุ่งไปสู่พุทธิปัญญาที่จะทำให้มีอิสระปลอดโปร่ง และปลอดภัยอย่างแท้จริง อันเป็นที่ปรารถนาของคนทุกระดับ
           ที่ กล่าวมาทั้งหมดนี้ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่จะขวนขวายแสวงหาเพื่อการพัฒนาด้วยตน เอง โดยไม่สัมพันธ์กับระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบบริหารจัดการบุคลากรครูอันเป็นโครงสร้างและสิ่งแวด ล้อมสำคัญที่จะให้เกิดการปฏิบัติดังกล่าว จึงน่าจะมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการดังกล่าวเกี่ยวกับบุคลากร ครู ข้อเสนอแนะบางประการ ดังนี้
           ๑. ครูในฐานะปัจเจกบุคคลต้องมีใจพร้อมที่จะทำหน้าที่ครู เป้าหมายคือยกระดับวิญญาณมนุษย์ ไม่ใช่ยกระดับความรู้เท่านั้น
           ๒. รัฐต้องปฏิรูปครูทั้งระบบทุกระดับ ตั้งแต่ครูก่อนประถมจนถึงรถดับอุดมศึกษา (ผู้ทำหน้าที่สอนทุกระดับถือว่าเป็นครู) โดยปฏิรูปทั้งระบบการผลิต การใช้และการพัฒนา
           ๓. ถ้าถือว่าวัยต้น ๆ ของคนเป็นวัยที่มีความสำคัญ เพราะเป็นวัยที่วางรากฐานการพัฒนาที่สำคัญที่สุด เป็นวัยที่ชี้ทิศทางแห่งการพัฒนาวัยต่อ ๆ ไปแล้ว ครูในระดับต้น ๆ คือก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษาก็ควรจะได้รับความสำคัญเป็นพิเศษด้วย โดยเฉพาะแง่ความก้าวหน้าทั้งทางวิชาการและวิชาชีพครู
           กฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่ล้าสมัย น่าจะได้รับการปรับปรุงเพื่อให้ครูในระดับต้น ๆ ได้รับความสำคัญเป็นพิเศษดังกล่าว ทางก้าวหน้าของครูในระดับต้น ๆ น่าจะมีช่องทางเหมือนกันกับครูในระดับสูง ๆ ตำแหน่งทางวิชาการไม่ว่าจะโดยชื่อ หรือสิทธิประโยชน์อันมากับตำแหน่งนั้น น่าจะมีเหมือนกันและเท่ากันสำหรับครูทุกระดับ ศาสตราจารย์มีได้แม้ในครูอนุบาล ถ้าคุณภาพทางวิชาการถึงระดับกำหนด
           ๔. ในขณะที่ยุคนี้ เทคโนโลยีกำลังมาแรง ครูและผู้จัดระบบการบริหารจัดการครู ต้องตั้งสติให้ดีว่า คนจะต้องใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเท่านั้น อย่าหลงหรือเผลอให้เทคโนโลยีมาใช้คน โดยไม่รู้ตัว เพราะมิฉะนั้น จะถึงจุดอันตราย ที่ความเป็นมนุษย์จะสูญสิ้น จะมีแต่ความเป็นวัตถุเมื่อถึงขั้นนั้น คนจะพูดกันด้วยเหตุผลไม่รู้เรื่อง แต่จะพูดกันด้วยวัตถุ หรือเงิน หรือผลประโยชน์อื่น ๆ
           ๕. สภาพแวดล้อมทางสื่อสารมวลชนมีบทบาทสำคัญเสมือนหนึ่งเป็นครูโดยอัตโนมัติ เพราะสามารถสื่อความหมายสิ่งต่าง ๆ ทั้งดีและไม่ดีที่มีอิทธิพลต่อคนไม่ยิ่งหย่อนหรือมากไปกว่าครูด้วยซ้ำไป ดังนั้น วิชาการทางสื่อสารมวลชนไม่ว่าจะเป็นนิเทศศาสตร์หรือชื่ออื่นใด ควรจะมีวิชาคุณธรรมความเป็นครูให้ศึกษาด้วย และให้ผู้ประกอบอาชีพด้านนี้ มีความรู้สึกว่าตัวเองเป็นหรือเสมือนเป็นครูคนหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อความรู้สึกรับผิดชอบต่อผลของการเสนอข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ จะเพิ่มความเข้า



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น